Episodes

Tuesday Jul 25, 2023
ผู้ลี้ภัยศึกษา คนพลัดถิ่น และการข้ามแดน | หมายเหตุประเพท
Tuesday Jul 25, 2023
Tuesday Jul 25, 2023
หมายเหตุประเพทไทยสัปดาห์นี้อธิบายนิยามของคำว่า “ผู้ลี้ภัย” “คนพลัดถิ่น” “แรงงานข้ามชาติ” ฯลฯ พร้อมแนะนำบทความ “What is refugee history, now?” (2021) เผยแพร่โดย Cambridge University Press ที่อธิบายถึงงานศึกษาด้านผู้ลี้ภัยที่เดิมเป็นเพียงแขนงย่อยของศาสตร์แขนงหลักอย่างกฎหมายระหว่างประเทศ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ มานุษยวิทยา ความสนใจเรื่องผู้ภัยศึกษาแต่เดิมก็สนใจว่าจะแก้ไขปัญหาอย่างไร หรือจะช่วยเหลืออย่างไร นอกจากนี้การนิยามเรื่องผู้ลี้ภัยก็เป็นไปแบบเอายุโรปเป็นศูนย์กลางหรือ eurocentrism อย่างไรก็ตามปัจจุบันมีมีแนวทางศึกษาที่ยึดตัวตนของของผู้ลี้ภัยเป็นหลัก โดยถือว่าผู้ลี้ภัยมีความคิด มีตัวตน มีความรู้สึก และเป็นตัวแสดงที่สำคัญ มีงานศึกษาผู้ลี้ภัยทั้งแบบชาติพันธุ์วรรณาและผ่านการศึกษาจดหมายเหตุของผู้ลี้ภัยมากขึ้น เป็นต้น

Tuesday Jul 25, 2023
ความลื่นล้มทางเพศ | หมายเหตุประเพทไทย
Tuesday Jul 25, 2023
Tuesday Jul 25, 2023
หมายเหตุประเพทไทยสัปดาห์นี้พูดคุยกับเคท ครั้งพิบูลย์ ในประเด็น gay dominance สัมพันธ์อย่างไรกับวาระผลักดันสิทธิความหลากหลายทางเพศ อธิบายภาวะช่วงชิงการนำเสนอความหลากหลายทางเพศที่ปรากฏในสื่อบันเทิง วัฒนธรรม ไปจนถึงงานรณรงค์ พร้อมชวนคิดข้อเสนอระยะยาวต่อการผลักดันประเด็นความหลากหลายทางเพศที่นับรวมทุกคน รวมไปถึงเรื่อง Intersectionality อีกด้วย

Tuesday Jul 25, 2023
อาชญาวิทยาหลังสมัยใหม่ | หมายเหตุประเพทไทย
Tuesday Jul 25, 2023
Tuesday Jul 25, 2023
หมายเหตุประเพทไทยสัปดาห์นี้พูดถึงแนวคิดอาชญาวิทยาหลังสมัยใหม่ หรือ Post Modern Criminology ที่ให้ความสนใจประเด็นอัตลักษณ์ในการเป็นอาชญากร ธรรมชาติของมนุษย์จากสิ่งที่เป็น (being) ไปสู่สิ่งที่กลายเป็น (becoming) นอกจากนี้อาชญาวิทยาหลังสมัยใหม่ ยังท้าทายแนวคิดอาชญาวิทยากระแสหลัก ว่าจำเป็นด้วยหรือที่ต้องวิเคราะห์อย่างตายตัวหรือผลลัพธ์แบบเดิม? รวมทั้งเสนอการใช้ Narrative แทนที่วิธีคิดเรื่องการแสวงหาข้อเท็จจริงแบบแนวคิดอาชญาวิทยากระแสหลัก

Wednesday Jul 05, 2023
หลังเลือกตั้งและทิศทางกระจายอำนาจ | หมายเหตุประเพทไทย
Wednesday Jul 05, 2023
Wednesday Jul 05, 2023
หมายเหตุประเพทไทยสัปดาห์นี้สัมภาษณ์ณัฐกร วิทิตานนท์ นักวิชาการจากคณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ต่อประเด็นทิศทางนโยบายกระจายอำนาจของรัฐบาลหลังการเลือกตั้งทั่วไป 2566 ว่าจะสานต่อได้หรือไม่ เมื่อพิจารณาถึงกระแสต่อเนื่องมาจากปรากฏการณ์เลือกตั้งผู้ว่าฯ กรุงเทพมหานคร และข้อเสนอล่าชื่อเสนอ พ.ร.บ.ปลดล็อกท้องถิ่น ไปจนถึงข้อเสนอยกเลิกราชการส่วนภูมิภาค ฯลฯ #เลือกตั้ง66 #หมายเหตุประเพทไทย

Monday Jun 26, 2023
Hunger คนหิวเกมกระหาย | หมายเหตุประเพทไทย
Monday Jun 26, 2023
Monday Jun 26, 2023
หมายเหตุ: มีการเปิดเผยเรื่องราวของภาพยนตร์ Hunger (2023)
ภาวิน มาลัยวงศ์ และติณณภพจ์ สินสมบูรณ์ทอง รีวิวภาพยนตร์ Hunger (2023) ชวนอ่านวิธีเล่าเรื่องในภาพยนตร์ในแบบคนธรรมดาที่อยากกลายเป็นคนพิเศษ และในแบบการต่อต้านอำนาจในชีวิตประจำวันของคนตัวเล็กตัวน้อย พร้อมแนะนำข้อเสนอจาก George Ritzer นักสังคมวิทยาชาวอเมริกัน “The Starbuckization of Society” เมื่อทุนนิยมเน้นขายความพิเศษ ความไม่เหมือนใครของสินค้า ลูกค้ากลายเป็นคนสำคัญ ฯลฯ ทั้งหมดนี้ติดตามได้ในรายการหมายเหตุประเพทไทย

Monday Jun 19, 2023
ผู้ก่อตั้งสิงคโปร์ถูกเล่าอย่างไรในยุคหลังอาณานิคม | หมายเหตุประเพทไทย
Monday Jun 19, 2023
Monday Jun 19, 2023
ติณณภพจ์ สินสมบูรณ์ทอง และภาวิน มาลัยวงศ์ พูดถึงเรื่องเล่าต่อผู้ก่อตั้งสิงคโปร์ยุคใหม่อย่างสแตมฟอร์ด แรฟเฟิลส์ (Stamford Raffles) และอาณานิคมอังกฤษบนเกาะบอร์เนียว ได้แก่ เจมส์ บรูก (James Brooke) รายาแห่งซาราวัก ทั้งนี้ในปัจจุบันที่มีกระแสหลังอาณานิคม และการต่อต้านอดีตเจ้าอาณานิคม ทั้งสิงคโปร์ และรัฐซาราวัก ของมาเลเซีย มีวิธีจัดการเรื่องเล่าและความทรงจำรำลึกต่อ “ผู้บุกเบิก” อาณานิคมอย่างไร ติดตามได้ในรายการหมายเหตุประเพทไทย

Monday Jun 12, 2023
ไมโครเครดิต สินเชื่อพลิกชีวิต | หมายเหตุประเพทไทย
Monday Jun 12, 2023
Monday Jun 12, 2023
หมายเหตุประเพทไทยสัปดาห์นี้พูดถึงไมโครเครดิต และกำเนิดธนาคารกรามีนโดยมูฮัมหมัด ยูนุส ที่บังกลาเทศ ซึ่งให้สินเชื่อรายย่อยกับสตรี เพื่อมุ่งแก้ไขความยากจน ส่งเสริมบทบาทของสตรีในด้านเศรษฐกิจ และขจัดความไม่เท่าเทียมทางเพศ
ทั้งนี้การเกิดขึ้นของโมเดลไมโครเครดิตดังกล่าว เกิดขึ้นในช่วงปลายศตวรรษที่ 20 ที่แนวคิดเสรีนิยมใหม่มีอิทธิพลมาก และทำให้เครื่องมือของสถาบันการเงิน สถาบันด้านการพัฒนาในช่วงนั้นสมาทานวิธีคิดแบบเดียวกันคือลดการแทรกแซงของรัฐ ลดการอุ้มชูของรัฐ หันมาเน้นการพึ่งพาตัวเองของปัจเจกบุคคล ซึ่งตรงข้ามกับแนวทางรัฐสวัสดิการที่เน้นบทบาทของรัฐ และการแทรกแซงกลไกตลาดโดยรัฐ

Wednesday Jun 07, 2023
ภูมิทัศน์สื่อไทยในวิกฤติการเมือง EP.5: ข้อเสนอแนะเพื่อปกป้องคุ้มครองเสรีภาพสื่อ
Wednesday Jun 07, 2023
Wednesday Jun 07, 2023
“เราจะพัฒนาอุตสาหกรรมสื่ออย่างไรให้มั่นคงและเป็นอิสระ ในภาพใหญ่ เราควรเริ่มจากรัฐที่มองเห็นว่าเสรีภาพในการรับรู้ข่าวสาร เป็นหลักการพื้นฐานของสิทธิมนุษยชน”
ประชาไทชวนฟังพอดแคสสื่อการเรียนรู้ชุด "ภูมิทัศน์สื่อไทยในวิกฤติการเมือง EP.5: ข้อเสนอแนะเพื่อปกป้องคุ้มครองเสรีภาพสื่อ" มองไปข้างหน้าถึงสิ่งที่ควรจะเป็นเพื่อสร้างบรรยากาศที่มีเสรีภาพในการนำเสนอเนื้อหาข่าวสาร
อ้างอิงข้อมูลจาก “โครงการวิจัยภูมิทัศน์สื่อไทย 2565” โดย พรรษาสิริ กุหลาบ, อริน เจียจันทร์พงษ์, ทัตเทพ ดีสุคนธ์
ได้รับการสนับสนุนจาก มูลนิธิเพื่อการศึกษาและสื่อภาคประชาชนอีสาน (The Isaan Record) และ องค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) #ภูมิทัศน์สื่อ #ประชาไท

Wednesday Jun 07, 2023
ภูมิทัศน์สื่อไทยในวิกฤติการเมือง EP.4: ความเสี่ยงและการคุกคามสื่อมวลชน
Wednesday Jun 07, 2023
Wednesday Jun 07, 2023
“นอกจากการบังคับใช้กฎหมายปิดปากเสียงวิพากษ์วิจารณ์และการนำเสนอข่าวที่กระทบความมั่นคงของรัฐแล้วนั้น ยังมีการดำเนินการด้วยความรุนแรงต่าง ๆ จนกลายเป็นการคุกคามสื่อ โดยเฉพาะการทำร้ายหรือจับกุมสื่อในพื้นที่ชุมนุม รวมถึงการติดตามข่มขู่ทั้งสื่อและแหล่งข่าว”
ประชาไทชวนฟังพอดแคสสื่อการเรียนรู้ชุด "ภูมิทัศน์สื่อไทยในวิกฤติการเมือง EP.4: ความเสี่ยงและการคุกคามสื่อมวลชน" เพื่อตระหนักถึงปัญหาเสรีภาพสื่อที่ไม่จำกัดอยู่เพียงรูปแบบของการควบคุมภายใต้กรอบกฎหมาย แต่รวมถึงความเสี่ยงและอันตรายทางกายภาพด้วยเช่นกัน
อ้างอิงข้อมูลจาก “โครงการวิจัยภูมิทัศน์สื่อไทย 2565” โดย พรรษาสิริ กุหลาบ, อริน เจียจันทร์พงษ์, ทัตเทพ ดีสุคนธ์
ได้รับการสนับสนุนจาก มูลนิธิเพื่อการศึกษาและสื่อภาคประชาชนอีสาน (The Isaan Record) และ องค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO)
#ภูมิทัศน์สื่อ #ประชาไท

Wednesday Jun 07, 2023
ภูมิทัศน์สื่อไทยในวิกฤติการเมือง EP.3: กรอบการกำกับดูแลสื่อไทย
Wednesday Jun 07, 2023
Wednesday Jun 07, 2023
“เราจะพบว่ารัฐไทยมักใช้กฎหมายและองค์กรกำกับดูแลของรัฐเพื่อปิดกั้นเสรีภาพและการแสดงความคิดเห็นของประชาชน และสิทธิการเข้าถึงข้อมูลสาธารณะ"
“มีผู้ชุมนุมจำนวนมากถูกฟ้องร้องจาก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน จนเกิดคำถามจากผู้คนในสังคมว่ากฎหมายดังกล่าวถูกใช้เพื่อควบคุมโรค หรือถูกใช้เพื่อควบคุมเสรีภาพกันแน่”
ประชาไทชวนฟังพอดแคสสื่อการเรียนรู้ชุด "ภูมิทัศน์สื่อไทยในวิกฤติการเมือง EP.3: กรอบการกำกับดูแลสื่อไทย" ทบทวนปัญหาตัวบทกฎหมายและการบังคับใช้ที่จำกัดเพดานการนำเสนอเนื้อหาที่มีความละเอียดอ่อนของสื่อ
อ้างอิงข้อมูลจาก “โครงการวิจัยภูมิทัศน์สื่อไทย 2565” โดย พรรษาสิริ กุหลาบ, อริน เจียจันทร์พงษ์, ทัตเทพ ดีสุคนธ์
ได้รับการสนับสนุนจาก มูลนิธิเพื่อการศึกษาและสื่อภาคประชาชนอีสาน (The Isaan Record) และ องค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO)
#ภูมิทัศน์สื่อ #ประชาไท