Episodes

Wednesday Oct 05, 2022
การทำร้ายศพเมื่อ 6 ตุลา 2519: ใคร อย่างไร ทำไม | อ่านให้ฟัง
Wednesday Oct 05, 2022
Wednesday Oct 05, 2022
หนึ่งในสาเหตุสำคัญที่ทำให้เหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 เป็นที่รู้จักและอยู่ในความทรงจำของเราคือ พฤติกรรมที่โหดร้ายทารุณอย่างเหลือเชื่อในวันนั้น จนถึงวันนี้ เราคงได้เห็นภาพความโหดร้ายครั้งนั้นพอสมควรแล้ว แต่เรามักเข้าใจผิดว่าการกระทำอันน่ารังเกียจน่าขยะแขยงทั้งหลายเป็นสาเหตุให้คนเหล่านั้นเสียชีวิต
อ่านทั้งหมดได้ที่: https://prachatai.com/journal/2018/11/79622
ประชาไท #อ่านให้ฟัง หยิบบทความที่น่าสนใจมาอ่านให้คุณฟัง แบบไม่ต้องอ่าน

Wednesday Oct 05, 2022
รื้อประตูแดงชนวนเหตุ ‘6 ตุลา’ | อ่านให้ฟัง
Wednesday Oct 05, 2022
Wednesday Oct 05, 2022
ไม่มีใครรู้แน่ชัดว่าเกิดอะไรขึ้นวันนั้นที่ประตูแดง
บ้างว่าพวกเขาถูกฆ่าในโรงพัก ต้องล้างคราบเลือดในห้องสอบสวน ก่อนถูกพาร่างมาแขวนคอไว้ที่นี่ บ้างบอกว่ามีการซ้อมทรมานก่อนที่จะฆ่า บ้างเชื่อว่าวิญญาณของพวกเขาอาจยังอยู่ แต่ไม่ได้หลอกหลอนให้ใครหวาดกลัว
เดือนกันยายน 2519 ในช่วงกระแสขวาพิฆาตซ้าย ช่วงเวลาที่นักกิจกรรม นักศึกษา หรือนักวิชาการถูกทำร้ายและลอบสังหาร ในวันที่ 24 กันยายน วิชัย เกษศรีพงศ์ษาชาวบุรีรัมย์ และชุมพร ทุมไมยชาวอุบลราชธานี พนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคนครปฐมและนักเคลื่อนไหวทางการเมืองถูกฆ่าอย่างโหดเหี้ยมในสภาพลิ้นจุกปาก ศพถูกแขวนคออยู่ที่ประตูสีเทาอมฟ้าที่สนิมกัดกร่อนจนชาวบ้านแถวนั้นเรียกกันว่า ‘ประตูแดง’
ภาพความโหดเหี้ยมของการฆาตกรรมครั้งนี้ปรากฎเป็นข่าวใหญ่ในหนังสือพิมพ์แทบทุกฉบับ
จากนั้นนักศึกษาธรรมศาสตร์ได้แสดงละครเพื่อแสดงให้เห็นถึงความรุนแรงที่รัฐกระทำกับประชาชนที่รณรงค์ต่อต้านการกลับมาของเผด็จการถนอมประพาส โดยมีฉากแขวนคอเลียนแบบเหตุการณ์ที่ประตูแดง นำไปสู่การใส่ร้ายป้ายสีว่านักศึกษากระทำการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพองค์รัชทายาท เนื่องจากใบหน้าของนักศึกษาที่แสดงเป็นคนถูกแขวนคอละม้ายคล้ายกับองค์รัชทายาท ซึ่งนำไปสู่เหตุการณ์รุนแรงวันที่ 6 ตุลาคม
อ่านทั้งหมดได้ที่: https://prachatai.com/journal/2019/06/83050
ประชาไท #อ่านให้ฟัง หยิบบทความที่น่าสนใจมาอ่านให้คุณฟัง แบบไม่ต้องอ่าน

Wednesday Oct 05, 2022
รู้จัก “เพลงหนักแผ่นดิน” | อ่านให้ฟัง
Wednesday Oct 05, 2022
Wednesday Oct 05, 2022
เพลงนี้ถูกแต่งขึ้นโดย พ.อ.บุญส่ง หักฤทธิ์ศึก ในปี 2518 ช่วงหลังเหตุการณ์ 14 ต.ค. 2516 ซึ่งช่วงหลังจากขบวนการนักศึกษาได้รับชัยชนะเหนือระบอบเผด็จการ สามารถโค่นล้มจอมพลถนอมและประภาสลงจากอำนาจได้ เกิดกระแสเบ่งบานทางประชาธิปไตย นักศึกษาและประชาชนเริ่มเปิดรับอุดมการณ์สังคมนิยม ทฤษฎีสังคมนิยมกลายเป็นอาวุธในการวิพากษ์สังคมไทยอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน โดยการวิเคราะห์และวิพากษ์สังคมไทยว่าเป็นสังคมชนชั้น ที่มีการกดขี่ขูดรีดกันอย่างรุนแรง ขณะที่ในประเทศเพื่อนบ้านมีการจัดตั้งกองกำลังคอมมิวนิสต์เพื่อเข้าชิงอำนาจรัฐ เพลงหนักแผ่นดิน จึงเป็นเพลงที่ทำหน้าที่ในฐานะเครื่องมือการต่อสู้ทางการเมืองเพื่อตอบโต้กระแสอุดมการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้นในเวลานั้น
เนื้อหาในเพลงดังกล่าว ทำหน้าที่ในการสร้างกรอบจำกัดของความเป็นไทย พร้อมไปกับการสร้างศัตรูที่อยู่ร่วมในชาติเดียวกัน เช่น “คนใดใช้ชื่อไทยอยู่ กายก็ดูเหมือนไทยด้วยกัน ได้อาศัยโพธิ์ทองแผ่นดินของราชันย์ แต่ใจมันยังเฝ้าคิดทำลาย” , “คนใดคิดร้ายราวี ประเพณีของไทยไม่ต้องการเกื้อหนุนอคติ เชื่อลัทธิอันธพาล แพร่นำมันมาบ้านเมืองเรา”
อ่านทั้งหมดได้ที่: https://prachatai.com/journal/2019/02/81089
ประชาไท #อ่านให้ฟัง หยิบบทความที่น่าสนใจมาอ่านให้คุณฟัง แบบไม่ต้องอ่าน

Saturday Oct 01, 2022
หมีแพดดิงตันและการนำเสนอภาพลักษณ์ควีนเอลิซาเบธที่ 2 | หมายเหตุประเพทไทย
Saturday Oct 01, 2022
Saturday Oct 01, 2022
ในห้วงการสวรรคตของสมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธที่ 2 หมายเหตุประเพทไทยสัปดาห์นี้ ภาวิน มาลัยวงศ์ และติณณภพจ์ สินสมบูรณ์ทอง อ่านสัญญะของตัวการ์ตูนน่ารักอย่างหมี Paddington ผ่านภาพยนตร์ “Ma’amalade sandwich Your Majesty?” ที่เผยแพร่ในช่วงฉลองการครองราชย์ครบ 70 ปีของควีนเอลิซาเบธที่ 2 ซึ่งเป็นที่มาของทวีตจากหมี Paddington “Thank you Ma’am for everything” หลังทราบข่าวการสวรรคตของพระองค์
ทั้งนี้นโยบายของอังกฤษเปิดรับผู้อพยพมาตั้งแต่ช่วงก่อนและหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 และจนถึงรัชสมัยของควีนเอลิซาเบธที่ 2 อังกฤษยังคงมีนโยบายรับผู้อพยพจากพื้นที่ต่างๆ นอกจากนี้ยังสามารถอ่านแปลสัญญะและความหมายที่ซ่อนอยู่ในภาพยนตร์ดังกล่าวได้อย่างไรบ้าง ติดตามได้ในรายการ
#หมายเหตุประเพทไทย #paddington

Saturday Oct 01, 2022
ความเป็น “กรือเซะ” มันมีหลายภาพให้จำ | อ่านให้ฟัง
Saturday Oct 01, 2022
Saturday Oct 01, 2022
บทความนี้ไม่เป็นกลาง ผู้อ่านโปรดอ่านด้วยความระมัดระวังและตั้งแง่ เหตุการณ์ครบรอบ 18 ปี โศกนาฏกรรมกรือเซะ ผู้เขียนสังวรตัวเองว่ากำลังจะเขียนบทความในฐานะ “คนนอก” ดังนั้นจึงขอสงวนวิธีการนำเสนอเนื้อหาในลักษณะ “คิดแทน” “พูดแทน” เจ้าหน้าที่รัฐ ผู้เสียชีวิตและญาติของผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์ เพราะการตีความของผู้เขียนอาจผิดพลาดคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงเนื่องจากข้อจำกัดของผู้เขียนเอง[2] อย่างไรก็ดี หากมีบทสัมภาษณ์โดยตรงจากตัวความ ผู้เขียนจะหยิบยกนำมาเสนอเพื่อให้เข้าใจถึงนัยความสำคัญของวันที่ 28 เมษายนฯ มายิ่งขึ้น
หลังจากทบทวนวรรณกรรมเบื้องต้นเกี่ยวกับ “กรือเซะ” พบว่า วรรณกรรมหลักๆ ที่ถูกนำเสนอออกมาอาจแบ่งได้ 3 กลุ่ม ดังนี้ 1) ประวัติศาสตร์บาดแผลเหตุการณ์โศกนาฏกรรมกรือเซะ เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2547 2) ประวัติศาสตร์ความเป็นมาและความเชื่อที่เกาะเกี่ยวกับมัสยิดกรือเซะ และ 3) กรือเซะกับการกลายมาเป็นพื้นที่ทางสังคม การเมืองและวัฒนธรรม
ด้วยพันธะทางปฏิทินการครบรอบวันที่ 28 เมษายนฯ ผู้เขียนจึงเลือกที่จะให้ความสำคัญกับ 2 เรื่องหลักๆ กล่าวคือ เรื่องแรก เปิดบาดแผลทางประวัติศาสตร์บางส่วนขึ้นมาเพื่อให้เห็นว่าวันที่ 28 เมษายนฯ มีความสำคัญอย่างไร และ เรื่องที่สอง จินตนาการถึงการแปรเปลี่ยนจากศาสนสถานสู่การกลายมาเป็นพื้นที่ทางสังคม การเมืองและวัฒนธรรม ผู้เขียนหวังใจเป็นอย่างยิ่งว่างานเขียนฉบับนี้จะเป็นข้อต่อเล็กๆ ที่ช่วยต่อเติมให้เห็น “ชีวิต” ของผู้คนที่สัมพันธ์กับ “การมีชีวิต” ของกรือเซะควบคู่กันผ่านบทเรียนทางประวัติศาสตร์
อ่านทั้งหมดได้ที่: https://prachatai.com/journal/2022/05/98488
ประชาไท #อ่านให้ฟัง หยิบบทความที่น่าสนใจมาอ่านให้คุณฟัง แบบไม่ต้องอ่าน

Monday Sep 26, 2022
อ่านพิพิธบางลำพู และจินตนาการเรื่องชาติไทย | หมายเหตุประเพทไทย
Monday Sep 26, 2022
Monday Sep 26, 2022
หมายเหตุประเพทไทยสัปดาห์นี้ติณณภพจ์ สินสมบูรณ์ทองและมิ่ง ปัญหา ชวนอ่านพิพิธภัณฑ์ “พิพิธบางลำพู” ที่บอกเล่าประวัติศาสตร์ชุมชนเก่ารอบพระนคร ที่ประกอบขึ้นจากความหลากหลายของชาติพันธุ์ ภูมิปัญญา และวิถีชีวิต อย่างไรก็ตามพิพิธบางลำพูก็มีการเลือกจดจำ เลือกเน้นย้ำบางด้านของประวัติศาสตร์ ในขณะที่เรื่องเล่าเชิงความขัดแย้งอย่างศึก 13 ห้างบางลำพู “2499 อันธพาลครองเมือง” ก็ยังไม่มีพื้นที่ในพิพิธภัณฑ์ชุมชน
พร้อมแนะนำเรื่องเล่าเชิงความขัดแย้งและประวัติศาสตร์บาดแผลผ่านพิพิธภัณฑ์ กรณีคำอธิบายเรื่องการค้าทาสและแรงงานทาสที่ผลิตวัตถุดิบป้อนอุตสาหกรรมสิ่งทอ จากกรณีศึกษา International Slavery Museum ที่ลิเวอร์พูล และ Museum of Science and Industry ที่แมนเชสเตอร์ ฯลฯ
อ่านประกอบ “พิพิธบางลำพูกับแฟนตาซีชาตินิยม การสร้างการรับรู้และอารมณ์ความรู้สึก” โดย ธนวัฒน์ ปัญญานันท์ และนฤมล ธีรวัฒน์ เผยแพร่ใน วารสารมานุษยวิทยา ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 (2021)
#หมายเหตุประเพทไทย #พิพิธภัณฑ์

Monday Sep 19, 2022
สัมภาษณ์: จอม เพชรประดับ และถ้อยคำสุดท้ายของ ”นวมทอง ไพรวัลย์” | อ่านให้ฟัง
Monday Sep 19, 2022
Monday Sep 19, 2022
ผมถามว่าทำไมคุณลุงถึงตัดสินใจจะฆ่าตัวตาย หรือว่าขับรถไปชนรถถัง คุณลุงก็อธิบายให้ฟังและบอกเหตุผล คุยกันประมาณสัก 20 นาที จากนั้นผมบอกคุณลุงว่าอันที่ผมสัมภาษณ์ไป ผมยังไม่ได้ออกอากาศนะครับ เพราะคุณลุงก็คงทราบว่ายังอยู่ในระหว่างกฏอัยการศึก ผมคงไม่สามารถออกอากาศได้ในตอนนี้ ผมจะออกให้คุณลุงได้ก็ต่อเมื่อยกเลิกประกาศกฏอัยการศึกแล้ว ผมบอกคุณลุงอย่างนั้น แล้วเราก็ลากัน
เทปที่คุยกันวันนั้นผมก็เก็บไว้ แต่หลังจากนั้นประมาณ 15 วัน คุณลุงก็โทรมาผม บอกว่าคุณจอมครับ เทปนั้นเก็บไว้ให้ดีๆ แต่ผมคิดว่าคุณลุงคงไม่ได้โทรหาผมเพื่อจะบอกให้ผมรีบออกอากาศหรือว่าอะไร เพราะคุณลุงก็ทราบดีว่าผมยังทำไม่ได้ ผมก็บอกคุณลุงว่าแน่นอน ผมจะเก็บไว้ให้ดี
พอรุ่งเช้า ผมเช็คข่าวถึงได้รู้ว่าคุณลุงตัดสินใจฆ่าตัวตาย...
อ่านทั้งหมดได้ที่: https://prachatai.com/journal/2006/12/10852
ประชาไท #อ่านให้ฟัง หยิบบทความที่น่าสนใจมาอ่านให้คุณฟัง แบบไม่ต้องอ่าน

Saturday Sep 17, 2022
เปิดคดีตามหาหมุดคณะราษฎร อยู่ๆ ก็หายไลน์ไม่ตอบ? | เล่าให้ฟัง
Saturday Sep 17, 2022
Saturday Sep 17, 2022
อยู่ดีๆ ก็หาย ไลน์ไม่ตอบ จะตอบได้ยังไง อยู่ดีๆ ก็หายไปอย่างไรร่องรอย หมุดสัญลักษณ์การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 หายครั้งแรกจริงหรือไม่ มีใครจ้องจะเล่นอยู่ไหม และหมุดที่มาแทนเป็นหมุดอะไร รวมถึงทำความรู้จักหมุดใหม่ที่เกิดขึ้นในปี 2563
ประชาไท #เล่าให้ฟัง หยิบเรื่องราวที่น่าสนใจมาเล่าให้คุณฟัง โดยที่คุณไม่ต้องอ่าน
#หมุดคณะราษฎร #คณะราษฎร #หมุดหน้าใส #เล่าให้ฟัง #ประชาไทเล่าให้ฟัง #PrachataiPodcast

Wednesday Sep 14, 2022
สุนัขเพื่อนยากในนิยายเชอร์ล็อก โฮล์ม | หมายเหตุประเพทไทย
Wednesday Sep 14, 2022
Wednesday Sep 14, 2022
หมายเหตุประเพทไทยสัปดาห์นี้ ติณณภพจ์ สินสมบูรณ์ทอง พูดคุยกับ มิ่ง ปัญหา ถึงเรื่องการปรากฏตัวของสุนัขในนิยายเชอร์ล็อก โฮล์ม วรรณกรรมอังกฤษที่ตีพิมพ์เผยแพร่ช่วง ค.ศ. 1887 ถึง 1927 คาบเกี่ยวยุคปลายวิคตอเรียน ที่ค่านิยมเลี้ยงสุนัข การประกวดและเพาะพันธุ์สุนัข เริ่มแพร่หลายในหมู่ชนชั้นกลางอังกฤษสมัยนั้น ทั้งนี้ในนิยายเชอร์ล็อคโฮล์ม นอกจากจะเห็นความเป็นสุนัขเพื่อนยาก ค่านิยมการเลี้ยงสุนัขเป็นสัตว์เลี้ยง ไม่ใช่สัตว์ใช้งานซึ่งเป็นแนวคิดของยุคนั้นแล้ว ในปริศนาคดีที่มีสุนัขมาพัวพัน ยังเกี่ยวพันแนวคิดเรื่องเชื้อชาตินิยม ความบริสุทธิ์ของสายพันธุ์ และความหวาดระแวงต่อชาวต่างชาติหรือผู้ที่มีเชื้อสายผสมที่เข้ามาอยู่ในอังกฤษในยุคจักรวรรดิอีกด้วย ทั้งหมดนี้ติดตามได้ในรายการ

Monday Sep 12, 2022
Monday Sep 12, 2022
วิวาทะนายกฯ 8 ปี ระหว่าง มีชัย 61 กับ มีชัย 65 คนหนึ่งบอกนับรวมก่อน รธน.60 อีกคนบอกเริ่มนับตั้งแต่รธน.ใช้บังคับ รวมทั้งโลกออนไลน์เปิดเอกสารความเห็นในปี 61 นั้นมีการรับรองบันทึกการประชุมด้วย ขณะที่ศาล รธน. ยังยืนยันไม่ได้ว่า เอกสารมีชัยเป็นของจริงหรือของปลอม #PrachataiShortNews