Episodes

4 days ago
4 days ago
หมายเหตุ: มีการเปิดเผยเนื้อเรื่องของ Guillermo del Toro's Pinocchio (2022)
มิ่ง ปัญหา และภาวิน มาลัยวงศ์ ชวนชมอะนิเมชัน Guillermo del Toro's Pinocchio (2022) อ่านบทบาท 3 ตัวละครตัวพ่ออย่าง Geppetto ผู้สูญเสียลูกชาย Carlo และผู้ให้กำเนิดตุ๊กตาไม้ Pinocchio, Count Volpe หัวหน้าคณะละครสัตว์และแนวคิดสร้างอาณานิคมของฟาสซิสต์อิตาลี ไปจนถึง Podestà เจ้าหน้าที่รัฐบาลฟาสซิสต์ที่สุดท้ายต้องเจอศัตรูผู้แข็งข้อตัวจริงอย่างลูกชายของตัวเอง พร้อมอ่านพล็อตโกหกแล้วจมูกยื่นยาวของ Pinocchio ที่เวอร์ชันของ Guillermo del Toro ไม่ใช่บาปแบบคริสต์ศาสนา แต่การโกหกกลับเป็นไปเพื่อเสียดสีและต่อต้านผู้อำนาจ
ทั้งหมดนี้ติดตามได้ในรายการ #หมายเหตุประเพทไทย #Pinocchio

Tuesday Mar 21, 2023
ขยายความยุติธรรมต่อสัตว์ | หมายเหตุประเพทไทย
Tuesday Mar 21, 2023
Tuesday Mar 21, 2023
ชานันท์ ยอดหงษ์ และต่อศักดิ์ จินดาสุขศรี แนะนำหนังสือ “Justice for Animals: Our Collective Responsibility Book” (2023) ผลงานของ Martha Nussbaum ซึ่งขยายแนวคิดเรื่องความยุติธรรมให้ครอบคลุมมวลสรรพชีวิตต่างๆ นอกเหนือจากมนุษย์ นอกจากนี้ยังเสนอไม่ใช้เกณฑ์จัดลำดับชั้นสิ่งมีชีวิต ซึ่งต่างออกไปจากสำนักคิดต่อต้านการทารุณสัตว์ก่อนหน้านี้ เช่น แนวคิดสัตว์เหมือนกับมนุษย์ (“So Like Us”) หรือแนวคิดอรรถประโยชน์นิยม นอกจากนี้ข้อเสนอของ Nussbaum ยังขยายไปถึงผู้แทนของสัตว์ที่จะทำหน้าที่ในกระบวนการกฎหมายด้วย ทั้งหมดนี้ติดตามในรายการ
#หมายเหตุประเพทไทย #ปรัชญา

Thursday Mar 16, 2023
พลังโอตะ | หมายเหตุประเพทไทย
Thursday Mar 16, 2023
Thursday Mar 16, 2023
กำเนิดวัฒนธรรมโอตาคุในสังคมไทย เริ่มต้นจากวัฒนธรรมย่อย กระทั่งถูกผลักให้เป็นชายขอบ แต่แล้ว “โอตะ” และโอตาคุแขนงต่างๆ กลับมาสร้างตัวตนของตนใหม่ได้อย่างไร จนทำให้ภาพจดจำ “โอตาคุ” ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไปทั้งหมดนี้ติดตามได้ในรายการ #หมายเหตุประเพทไทย

Wednesday Mar 08, 2023
ความจน คนไร้บ้าน และผู้ใช้ชีวิตในพื้นที่สาธารณะ | หมายเหตุประเพทไทย
Wednesday Mar 08, 2023
Wednesday Mar 08, 2023
หมายเหตุประเพทไทยสัปดาห์นี้ ชานันท์ ยอดหงษ์ พูดคุยกับ ต่อศักดิ์ จินดาสุขศรี ในประเด็นคนไร้บ้าน หรือ “ผู้ใช้ชีวิตในพื้นที่สาธารณะ” ซึ่งนอกจากสาเหตุทางสังคมที่ทำให้หลายคนต้องออกมาเป็นคนไร้บ้านแล้ว ปัจจัยทางเศรษฐกิจ ความยากจนเชิงโครงสร้าง ตลอดจนผู้ได้รับผลกระทบจากนโยบายภาครัฐ ก็มีส่วนผลักดันทำให้เกิดคนไร้บ้านเพิ่มจำนวนมากขึ้น
อย่างไรก็ตามนโยบายด้านสวัสดิการสังคมเพื่อทำให้คนไร้บ้าน สามารถกลับไปประกอบอาชีพและมีชีวิตที่มีศักดิ์ศรียังมีอุปสรรคและความท้าทายหลายด้าน ทั้งหมดนี้ติดตามได้ในรายการ #หมายเหตประเพทไทย #ความยากจน

Monday Feb 27, 2023
6 ทศวรรษของเควียร์ในภาพยนตร์ | หมายเหตุประเพทไทย
Monday Feb 27, 2023
Monday Feb 27, 2023
แนะนำหนังสือของภาวิน มาลัยวงศ์ “6 ทศวรรษของเควียร์ในภาพยนตร์: จากผู้ทำลายกลายเป็นผู้สร้าง (ครอบครัว)” โดยเป็นการรีวิวและวิจารณ์ “ภาพยนตร์เควียร์” จำนวน 9 เรื่อง ตลอดจนการนำเสนอภาพแทนความเป็นเควียร์ของภาพยนตร์ในห้วงปี ค.ศ. 1961 ถึง 2021
เริ่มจากการที่ต้องซ่อนเร้นตัวตนความเป็นเควียร์เพื่อให้พ้นจากการถูกข่มขู่อย่างในภาพยนตร์ Victim (1961) มาจนถึงภาพยนตร์ล่าสุดอย่าง Elisa & Marcela (2019) ที่ย้อนเล่ากรณีคู่รักเพศหญิงในสเปนที่ปลอมตัวเพื่อเข้าพิธีแต่งงานเมื่อ ค.ศ. 1901 ว่าคู่รักเพศเดียวกันต้องเสียสละอะไรบ้างเพื่อให้ได้สิ่งที่เรียกว่า “ครอบครัว” แบบคู่รักต่างเพศ ฯลฯ
ซึ่งการนำเสนอภาพแทนความเป็นเควียร์เหล่านี้มีความเปลี่ยนแปลงไปในแต่ละทศวรรษ สอดคล้องไปกับการเกิดขึ้นของขบวนการเรียกร้องสิทธิของคนรักเพศเดียวกัน
#หมายเหตประเพทไทย

Monday Feb 20, 2023
ชายแท้และภาวะแรงงานอารมณ์ชายขอบ | หมายเหตุประเพทไทย
Monday Feb 20, 2023
Monday Feb 20, 2023
หมายเหตุประเพทไทยสัปดาห์นี้ ภาวิน มาลัยวงษ์ และติณณภพจ์ สินสมบูรณ์ทอง แนะนำบทความของวิจิตร ประพงษ์ เรื่อง “แรงงานอารมณ์หนุ่มข้ามชาติ: การต่อรองความเป็นชายและการสั่นคลอนความหมายอาชีพขายบริการทางเพศ” ที่เปิดเผยให้เห็นถึง “สภาวะลับลอบ” ของแรงงานข้ามชาติที่เชียงใหม่ ซึ่งส่วนหนึ่งประกอบอาชีพ “แรงงานอารมณ์” อยู่ในอุตสาหกรรมบริการทางเพศ ทั้งนี้ปัญหาที่แรงงานอารมณ์เผชิญ และการต่อรองบทบาททางเพศในเงื่อนไข “ชายแท้” “MSM” ที่ต้องดีลกับลูกค้านั้นเป็นอย่างไรติดตามได้ในรายการ
#หมายเหตประเพทไทย #ชายแท #ชายขอบ

Monday Feb 13, 2023
ชายและอวัยวะเพศทางสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ | หมายเหตุประเพทไทย
Monday Feb 13, 2023
Monday Feb 13, 2023
ติณณภพจ์ สินสมบูรณ์ทอง และชานันท์ ยอดหงษ์ เสนอเรื่องอวัยวะเพศชายกับมุมมองศึกษาทางสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยา ที่บทสนทนาเรื่องเหล่านี้อาจถูกมองว่าวิปริตหรือลามก แต่ในทางสังคมศาสตร์เรื่องของอวัยวะเพศชายมีความเกี่ยวข้องกับค่านิยมทางสังคมต่างๆ เริ่มจากยุคโบราณ จนถึงยุคปัจจุบัน
การผูกอวัยวะเพศเข้ากับแนวคิดชายเป็นใหญ่และการครองอำนาจเหนือ แม้กระทั่งสร้างคำอธิบายในการศึกษาทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ขณะเดียวกันแนวคิดสตรีนิยมในทศวรรษหลังๆ เสนอด้วยว่าอวัยวะเพศชายไม่จำเป็นต้องอยู่ในสมการของความสุขทางเพศ ฯลฯ
ทั้งหมดนี้ติดตามได้ในรายการ
#หมายเหตประเพทไทย #เพศวถี #พรโต

Monday Feb 06, 2023
ผู้ชายในกฎหมายจารีตอีสาน | หมายเหตุประเพทไทย
Monday Feb 06, 2023
Monday Feb 06, 2023
ชานันท์ ยอดหงษ์ และเคท ครั้งพิบูลย์ พูดถึงกฎหมายจารีตอีสานและการควบคุมผู้ชาย ทั้งนี้นอกจากกฎหมายในยุคจารีตอีสานรวมทั้งฮีตคองต่างๆ ที่มุ่งควบคุมพฤติกรรม และมีความคาดหวังต่อเพศชายให้มีหน้าที่ต่อครอบครัวและสังคมแล้ว กฎหมายจารีตอีสานยังควบคุมการใช้ทรัพยากร
อย่างการให้ประโยชน์ครอบครองที่ดินแก่ผู้หักร้างถางผง ให้สิทธิผู้ดักจับสัตว์น้ำก่อนผู้อื่น และที่สำคัญที่สุดยังมุ่งปกป้องผลประโยชน์ของชนชั้นนำ เจ้าเมืองท้องถิ่น ซึ่งสะท้อนผ่านกฎหมายเกณฑ์แรงงาน การเกณฑ์ไพร่ไปรบ การสักเลกและการส่งส่วย ทั้งหมดนี้ติดตามได้ในรายการ
#หมายเหตประเพทไทย #อสาน

Monday Jan 30, 2023
Wakanda Forever อ่านแบบหลังอาณานิคม | หมายเหตุประเพทไทย
Monday Jan 30, 2023
Monday Jan 30, 2023
หมายเหตุประเพทไทยสัปดาห์นี้รีวิวภาพยนตร์ Black Panther: Wakanda Forever ในมุมมองวรรณกรรมยุคหลังอาณานิคมว่าผู้สร้าง Black Panther ผูกวรรณกรรมแบบแอฟริกันอนาคตนิยม (Afrofuturism) เข้ากับประวัติศาสตร์คนดำ การค้าทาส และการปฏิวัติเฮติอย่างไร
นอกจากนี้ภายหลังความตายของ T'Challa ยังมีบทบาทที่ท้ายสำหรับผู้สืบทอดอย่างเจ้าหญิง Shuri รวมทั้งเจ้าชายน้อย T'Challa ที่ 2 อีกด้วย ทั้งหมดนี้ติดตามได้ในรายการหมายเหตุประเพทไทยโดย ติณณภพจ์ สินสมบูรณ์ทอง และมิ่ง ปัญหา
#หมายเหตุประเพทไทย #wakandaforever

Wednesday Jan 25, 2023
ลายกินรี: อ่านแบบภาวะอาณานิคมภายใน | หมายเหตุประเพทไทย
Wednesday Jan 25, 2023
Wednesday Jan 25, 2023
หมายเหตุประเพทไทยสัปดาห์นี้ติณณภพจ์ สินสมบูรณ์ทอง และมิ่ง ปัญหา ชวนรีวิว “ลายกินรี” อ่านพล็อตนิยายสืบสวนย้อนยุคไปในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ที่ให้บทบาท “แม่หญิงพุดซ้อน” มีความรู้ทางการแพทย์และคลี่คลายคดีฆาตกรรม “กปิตันฌอง” ที่ถูกพบเสียชีวิตอยู่ในน้ำ
อย่างไรก็ตามเนื้อหาของ “ลายกินรี” ทั้งในฉบับละครโทรทัศน์และนิยาย ก็อยู่กับบรรยากาศความหวาดกลัวอิทธิพลตะวันตก ความจำเป็นที่ต้องรักษาอำนาจอธิปไตยและอำนาจของกษัตริย์ รวมทั้งภาวะหวาดกลัวคนรักเพศเดียวกันที่เกิดขึ้นอย่างคู่ขนานในนิยาย พร้อมข้อเสนอส่งท้ายว่า “ลายกินรี” ไม่น่าใช่วรรณกรรมแบบหลังอาณานิคม (Postcolonial Writing) หากเป็นวรรณกรรมที่ยอมสยบต่อจักรวรรดินิยมภายในมากกว่า
#ลายกินรี #หมายเหตุประเพทไทย